ชื่อเรื่อง วิถีชุมชน ตำบลโคกแสมสาร อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี
ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องซื้ออาหารกิน เป็นการลดรายจ่ายภายในครอบครัว นอกจากนี้ การใช้ชีวิตประจำวันแบบวิถีพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ในการหาทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต เช่น การจับน้ำตามท้องไร่ท้องนา การแหย่ไข่มดแดง มาประกอบอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ชาวบ้านมักจะนำปลาและกุ้งที่จับมาเอง มาทำปลาร้า ปลาส้ม ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหารอีกอย่างหนึ่ง ผลผลิตส่วนใหญ่จะได้รับตามสภาพและฤดูกาล ในสมัยโบราณชาวบ้านมึกสร้างบ้านเรือนมักรวมกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งต่อมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน และตำบล สำหรับคนประกอบอาชีพเพาะปลูกมักตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลอง หรือแหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการประกอบอาชีพซึ่งน้ำเป็นปัจจัยหลักในการประกอบอาชีพ การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นพาหนะในการเดินทางติดต่อกันเพื่อการค้าขาย บ้านเรือนปลูกอยู่ใกล้เคียงกันเป็นกลุ่ม มีวิถีชุมชนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ถึงเป็นวิถีชนบทที่หายได้ยากในปัจจุบัน ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสาน ภาษาที่ใช้กันในหมู่บ้านส่วนใหญ่มักใช้ภาษาอีสานในการสื่อสารกัน ชาวบ้านยึดถือและสืบสาน ประเพณีและวัฒนธรรม ที่ทรวงคุณค่าของชนชาวอีสาน และปฏิบัติตามวัฒนธรรมชาวอีสาน กันในชุมชนก็คือ เดือน 3 ทำบุญวันมาฆะบูชา บุญข้าวจี บุญประทายข้าวเปลือก เดือน 4 บุญพระเวสด์ ฟังเทศมหาชาติ เดือน 5 บุญสงกรานต์ รดน้ำดำหัว ขอพรผู้สูงอายุ เดือน 6 ทำบุญวันวิสาขบูชา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาร์ท บุญสลากพัตร์ (สาร์ทลาว) บุญเบิกบ้าน บุญบั้งไฟ ในทุกเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะร่วมประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมอันดีของคนตำบลโคกแสมสาร อีกทั้งมีการปลูกฝั่งให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้มีความสามัคคี ตระหนัก ถึงชาติพันธุ์ รากเหง้าของตนเอง นอกจากจะมีการสืบสาน ขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาวอีสานที่เรียกกันว่า “ฮีตสิบ สองคองสิบสี่”แล้ว ชุมชนในตำบลโคกแสมสารยังสืบทอด การประกอบอาชีพที่มีต้นกำเนิดมาการชนชาวอีสานอีกด้วย เช่น การทอผ้ามัดหมี่ การทอเสื่อกก และการจักสานจากไม้ไผ่ไว้ใช้ในครัวเรือน ถือได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอีสานให้ยังยืนสืบไป
No comments:
Post a Comment