รำโทนบ้านบัวชุม
การละเล่นรำโทนของบ้านบัวชุม นั้นสืบทอดกันมาเป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมให้มีการละเล่นรำโทนเพื่อให้เป็นศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ จึงนิยมเล่นกันอย่างกว้างขวาง การเรียกชื่อการรำชนิดนี้มาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ให้เป็นจังหวะคือโทน นอกจากนี้ยังมีผู้แต่งเพลงขึ้นมาใช้ร้องประกอบการรำโทนแล้วนำมาร้องต่อ ๆ กันไปในท้องถิ่นต่าง ๆ อีกมากมายหลายเพลง คำร้องและทำนองจึงมีความผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป จุดเด่นลักษณะของโทน หุ่นของโทนที่ชาวบ้านบัวชุมใช้ทำด้วยดินเผามีรูปร่างคล้ายกับกลองยาวแต่สั้นกว่า ขึงด้วยหนังตัวเงินตัวทองหรือหนังงูเหลือม มีการเอาเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ มาใช้ตีประกอบเป็นจังหวะ เพื่อเพิ่มความครื้นเครง เช่น ฉิ่ง ฉาบ และกรับ ปัจจุบัน นายยวย จันท์เต็มดวง เป็นประธานกลุ่มรำโทนบ้านบัวชุม มีการจัดแสดงตามงานบุญและพิธีต่างๆ เป็นการแสดงหลักที่ไว้คอยต้อนรับผู้มาเยือนตำบลบัวชุม อีกทั้งส่งเสริมการรำโทนเข้าไปยังกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
Post a Comment