TKP HEADLINE

ผลิตภัณฑ์งานจักสานบ้านน้ำจั้น

 

ผลิตภัณฑ์งานจักสานบ้านน้ำจั้น






การศึกษาเพื่อพัฒนาการงานและอาชีพให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนางานระดับพื้นฐาน ระดับกึ่งฝีมือ และระดับฝีมือที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเพิ่มพูนรายได้ ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการที่หลากหลายและทันสมัย สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง และ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษามุ่งเน้นให้ทุก กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

กระบวนการผลิต การทำตะกร้าหวายเทียม เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสานมาปรับประยุกต์ใช้ วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ทำมาจากหวาย ไม้ แผ่นไม้ นำมาสานเกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ ของตะกร้า รูปทรงและขนาดมีความแตกต่างตามความเหมาะสมของการใช้งาน เช่น ใช้ใส่ของไปวัดทำบุญ ใช้ถือออกงาน ฯลฯ ทำให้เกิดการพัฒนาลวดลายตามยุคสมัย ความนิยม มีการตั้งชื่อลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เรียกชื่อได้ตรงกัน และน่าสนใจมากขึ้น ระยะเวลาในการผลิตประมาณ

การสานตะกร้าหวายเทียม เป็นการผลิตแบบบุคคล ทำมาจากหวาย หวายเส้น ไม้ ทำให้มีความแข็งแรง คงทน สามารถใช้งานได้นาน มีลวดลายและสีสันสวยงาม ใช้ระยะเวลาในการสานโดยประมาณ4 – 5 วันต่อ 1 ใบ ขึ้นอยู่กับขนาดและลวดลาย โดยตะกร้าหวายเทียมนี้เป็นการเรียนรู้เริ่มต้นจากกลุ่มอาชีพ ในโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เปิดให้ประชาชนที่สนใจได้เรียนรู้ ฝึกอาชีพ และนำความรู้ที่ได้รับ ด้านวิธีการ ขั้นตอนการสานตะกร้าหวาย ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปประกอบอาชีพ ทำให้มีรายได้เสริมกับครอบครัวตนเอง

กระบวนการผลิต ใช้วิธีการสานมือ โดยเริ่มจากการนำแผ่นไม้ที่มีรูปร่างและขนาดเท่ากับแบบตอกด้วยตะปู ยึดติดกับแบบเพื่อขึ้นดิ้ว(ตอกตั้ง) โดยรอบตามแบบตะกร้า จากนั้นนำเส้นหวายเทียมมาสานตามลวดลายที่ต้องการจนเต็มใบตะกร้า ใส่ขอบและงวงตะกร้า ใช้เส้นหวายพันรอบงวงตะกร้าและขั้นตอนสุดท้ายคือการทาน้ำมันเคลือบเงา ทาซ้ำ 2 รอบ เพื่อให้ตะกร้าอยู่ทรง ป้องกันเชื้อรา รักษาเนื้อไม้และทำให้หวายมีความแข็งแรงทนทาน รอจนน้ำมันเคลือบเงาแห้ง จึงถอดออกจากแบบได้ จากกระบวนการผลิตจะเห็นได้ว่าการสานตะกร้าหวายเทียมมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของตะกร้าหวาย บรรจุด้วยถุงพลาสติกใส ที่มีขนาดแตกต่างกัน ตามรูปทรงและขนาดของตะกร้า ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสานตะกร้าหวายเทียม มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีแบบที่หลากหลาย โดยการพัฒนาลวดลายและรูปทรงของตะกร้าให้มีความสวยงาม มีรูปทรง ลวดลายที่หลากหลายตามยุคสมัยและความนิยม เพื่อให้เกิดความน่าสนใจต่อกลุ่มลูกค้า

การเพิ่มขึ้นของรายได้ ครั้งที่เริ่มต้นจำหน่ายผลิตภัณฑ์เริ่มจากจำหน่ายในชุมชน จากการบอกต่อของคนรู้จัก คนในชุมชน ผลิตตามคำสั่งซื้อ จนเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ทำให้มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 25% – 30% ด้านระบบบัญชี มีการบันทึกบัญชีอย่างง่าย มีการบันทึกรายจ่ายค่าวัสดุ (ต้นทุน) และรายรับลงสมุด เพื่อให้ผู้ผลิตทราบรายละเอียดต่าง ๆ ของค่าใช้จ่ายหรือกำไรที่ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลพบุรี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand