TKP HEADLINE

ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์

 ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์


มนุษย์เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นสังคมย่อมต้องมีความสัมพันธ์ของกลุ่มที่มีระเบียบแบบแผน ที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เครื่องมือที่ควบคุมพฤติกรรมของคนเราเรียกว่าวัฒนธรรมวัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนเครื่องแต่งกายตกแต่งให้ดูน่าชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องอยู่ควบคู่กับคน วัฒนธรรมหมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมการไหว้ วัฒนธรรมยังหมายถึงวิถีชีวิตของหมู่คณะที่แสดงออกทางพฤติกรรม ภาษา และกิจกรรมของสังคม “วัฒนธรรมล้านนา วัฒนธรรมการกิน”

เดิมตำบลลำนารายณ์เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตการปกครองของตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ประชาชนอพยพมาจากนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อมาบุกเบิกทำมาหากิน ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงได้แยกการปกครองออกจากตำบลบัวชุมมาเป็นตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตำบลลำนารายณ์มีประชากรที่มีความหลากหลายทางเชื้อสายและวัฒนธรรม เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยพุทธ ชาวมุสลิม เป็นต้น จึงมีความหลายทางวัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่างกัน จึงขอยกตัวอย่างวัฒนธรรมประเพณีที่เด่น ๆ ของตำบลลำนารายณ์ คือประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์

ประวัติศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ บริเวณศาลเจ้ามีสภาพเป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นมากมายและเป็นป่าทึบ มีเพียงถนนตัดผ่านไปทางแม่น้ำป่าสัก เป็นถนนเส้นทางเดียวที่ประชาชนในละแวกนี้ใช้สัญจรจากหมู่บ้านไปตลาดลำนารายณ์การสัญจรในเส้นทางในสันนิษฐานว่าได้ตัดผ่านด้านหลังศาลเจ้าผ่านไปออกซอยร้านเจริญการค้าไปตลาดนายเฉื่อย(ตลาดศรีเจริญในปัจจุบัน) จากการเดินทางสัญจรในเส้นทางนี้พบว่ามีต้นตะคองอยู่ด้านหลังศาลเจ้า ซึ่งใต้ต้นตะคองมีไม้ลักษณะคล้ายองค์เทพเทวดา ทำให้ประชาชนที่สัญจรเหล่านั้นมากราบไหว้ขอพรก็เป็นผลสำเร็จ จากแรงศรัทธาและความเลื่อมใส่ต่อองค์เทพเทวดา ทำให้มีการสร้างศาลชั่วคราวที่ทำด้วยไม้และสังกะสี ซึ่งประชาชนขาวตลาดลำนารายณ์ก็ได้นำสิ่งของมากราบไหว้สักการะอย่างต่อเนื่อง และคล้องพวงมาลัยที่ใต้ตะคองเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้มีการประชุมในระดับผู้นำชุมชน ประกอบไปด้วย คุณสีชัง ชูชัยทิพย์ คุณสุพจน์ นามประเสริฐสิทธิ และคุณกัญชัย จึงได้ดำเนินการก่อสร้างศาลขึ้นมาใหม่ และอัญเชิญองค์เทพเทวดาจากศาลชั่วคราวเข้าสู่ประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าแห่งใหม่ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เดือนแปดของคนจีนได้มีการตั้งชื่อศาลนี้อย่างเป็นทางการว่า “ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์” เพื่อให้เป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชนชาวลำนารายณ์ โดยให้มีคณะกรรมการเถ่านั๊งจำนวน ๖ ท่านขึ้นมาดูแล

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ชาวตลาดลำนารายณ์ได้ดำเนินการจดทะเบียนก่อตั้งและให้คณะกรรมการเป็นผู้กำกับดูแลและควบคุมกิจการของศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์ โดยจัดให้มีการแสดงงิ้ว ปีละ ๒ ครั้ง คือซิ่วโหวง เดือนหนึ่งและเดือนแปดของคนจีน โดยจัดให้มีการแสดงครั้งละ ๖ คืนและให้งานซิ่วโหวงของจีนเป็นการแห่ไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์ไปรอบตลาดเพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ท้องถิ่นแห่งนี้ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้มีการยกร่างกฎระเบียบของศาลเจ้าขึ้นโดยให้มีคณะกรรมการของศาลเจ้าเป็นฝ่ายบริหารศาลเจ้าในแต่ละปีจะมีการแห่องค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์ ๒ วัน โดยในวันแรกช่วงกลางคืนจะเป็นการแห่โคมมงคลด้วยระบบแสง สี เสียง และมีการแห่มังกรทอง สิงโต เอ็งกอ ณ บริเวณสี่แยกสัญญาณไฟแดงและวันที่ ๒ จะมีการอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ออกแห่ไปรอบตลาดลำนารายณ์ โดยมีขบวนธงทิว สุภาพสตรีถือแห่ ชุดรำองค์เจ้าแม่กวนอิม ล้อโก๊ว จนถือได้ว่าเป็นงานที่ชาวตลาดลำนารายณ์ได้ร่วมกันจัดขึ้น ด้วยแรงศรัทธาที่มีต่อองค์เจ้าพ่อเจ้าของชาวตลาดลำนารายณ์ทุกคน

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลพบุรี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand