TKP HEADLINE

สานด้วยมือ

 สานด้วยมือ ชุมชน ตำบลโคกแสมสาร อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี


    การทอเสื่อเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในชนบทที่ใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนามาถักทอ บางส่วนทอเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้อง
ถิ่น คือใช้ต้นกก คิดค้นลวดลาย ถักทอจนเป็นผืนสวยงาม พัฒนาต่อยอดโดยการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และสามารถใช้งานได้หลากหลาย
 การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น แล้วสาน ทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่ง หรือนอน หรือทาธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนา และความเชื่อ เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืช ธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาคและภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นา ต้นกกมาแปรสภาพก็ก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการทอเสื่อกกได้กลายเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นต่างๆ และได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบแปรรูป ให้มีลักษณะต่างๆ และใช้นอกเหนือไปจากการปูนั่งหรือนอน ผลิตภัณฑ์เสื่อกกคุณภาพมีทั้ง ลายขิด ลายมัดหมี่ ลายดอกลำดวนหรือลายธรรมดา
 การทอเสื่อกก จะใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ต้นกกที่ขึ้นได้เองตามแหล่งธรรมชาติ และสามารถปลูกได้เองในพื้นที่ เดิมทอด้วยสีเดิมของกก ยังไม่มีสีและลวดลาย ภายหลังมีการพัฒนาโดยการเพิ่มสีสันและลวดลาย โดยการใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีครามที่ได้จากต้นคราม สีเหลืองจากแก่นขนุน สีดำจากผลมะเกลือ สีแดงได้จากครั่ง และสีม่วงจากเปลือกมังคุด เป็นต้น ทุกขั้นตอนใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นทั้งสิ้น
 การทอเสื่อกกของชาวชุมชนแบบดั้งเดิม ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการนำผ้าที่ตัดเป็นริ้วแล้วมาใส่กุ้น เพื่อสะดวกต่อการเย็บ แล้วเย็บริมเสื่อตลอดแนวทั้งสองข้าง นำเสื่อที่เย็บริมแล้วมาเย็บติดกัน เพื่อให้เป็นเสื่อผืนใหญ่ โดย 3 ชิ้น เป็น 1 ผืน โดยการนำเสื่อ 2 ชิ้นมาประกบกัน แล้วเย็บ ให้ชิดขอบมากที่สุด เย็บสายหิ้ว และสายผูก โดยวัดขนาดของเสื่อตามที่พับ แล้วทำเครื่องหมายเพื่อให้ทราบถึงจุด และขนาดที่จะเย็บสายหิ้ว จากนั้นเย็บเป็นสายหิ้ว 2 หู และ สายสำหรับผูกเสื่ออีก 1 เส้น เรียกว่า เสื่อพับ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะเป็นเสื่อที่ผืนใหญ่แต่พกพาได้สะดวก
    ปัจจุบันการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน และส่งเสริมให้สร้างรายได้เป็นธุรกิจชุมชน จนถึงขั้นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ทำให้การทอเสื่อกกของชาวชุมชนแบบดั้งเดิม ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น การทอเสื่อกกก็ยังสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริมแก่ชาวชุมชนได้ไม่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดการรวมตัวของชาวบ้านเป็นกลุ่มจักสาน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลพบุรี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand